ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Slipper flower
Slipper flower
Pedilanthus tithymaloides (L.) Poit.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Pedilanthus tithymaloides (L.) Poit.
 
  ชื่อไทย แสยก
 
  ชื่อท้องถิ่น - ว่านจะเข็บ(คนเมือง) - กะแหยก, มหาประสาน, ย่าง, แสยกสามสี (กลาง); เคียะไก่ให้ (เหนือ); ตาสี่กะมอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน); นางกวัก, ว่านสลี (แม่ฮ่องสอน). [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 40 – 100 ซม., มีน้ำยางมาก; ลำต้นหักงอไปมาทำให้เป็นรูปซิกแซก, สีเขียว, ผิวเรียบ.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกันซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน, รูปไข่, กว้าง 2.5 – 5 ซม., ยาว 3.5 – 7 ซม.; ฐานใบกลม, มน, หรือแหลม; ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่น; ปลายใบมนหรือแหลม; เส้นใบมองเห็นไม่ชัด, เนื้อใบหนา; ด้านล่างมีขนอ่อน, เส้นเล็ก, ปกคลุมบาง ๆ ทั่วไป; ก้านใบยาว 2 – 7 มม.; หูใบมีลักษระเป็นตุ่มกลมเล็ก ๆ 2 ตุ่มอยู่สองข้างโคนก้านใบ, ร่วงง่าย, ต้นจะสลัดใบทิ้งหมด หรือเกือบหมดก่อนออกดอก.
ดอก สีแดง, ออกเป็นช่อตามลำต้น, ที่ยอดและตามกิ่งแขนงสั้น ๆ ใกล้ยอด, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน; ก้านช่อยาว 3 – 20 มม., มีขน; ช่อดอกยาว 1 – 2.5 ซม., ใบประดับด้านนอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น, ก้านดอกไม่มีขน; ดอกมีลักษณะคล้ายรองเท้าหรือเรือ, มี 5 กลีบ, เรียงเป็นสองชั้น, ชั้นในมี 3 กลีบ, สั้น และแคบกว่ากลีบชั้นนอก, มีขนละเอียด; ที่ฐานด้านนอกมีต่อมน้ำหวานรูปกระทะคว่ำ 1 ต่อม, ด้านในมีต่อม 2 หรือ 4 ต่อม เรียงเป็นคู่; ที่ปลายมีแถบยาวหนึ่งแถบอยู่ตรงช่องระหว่างกลีบใหญ่ชั้นนอกสองกลีบ; เกสรผู้สั้น, ขณะที่ดอกกำลังบานอับเรณูจะหันหน้าออก; รังไข่มี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย, ท่อรับไข่มี 1 อัน, ปลายท่อแยกเป็น 3, แต่ละอันแยกเป็น 2 แฉก.
ผล เป็นชนิดแห้งแล้วแตก. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกันซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน, รูปไข่, กว้าง 2.5 – 5 ซม., ยาว 3.5 – 7 ซม.; ฐานใบกลม, มน, หรือแหลม; ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่น; ปลายใบมนหรือแหลม; เส้นใบมองเห็นไม่ชัด, เนื้อใบหนา; ด้านล่างมีขนอ่อน, เส้นเล็ก, ปกคลุมบาง ๆ ทั่วไป; ก้านใบยาว 2 – 7 มม.; หูใบมีลักษระเป็นตุ่มกลมเล็ก ๆ 2 ตุ่มอยู่สองข้างโคนก้านใบ, ร่วงง่าย, ต้นจะสลัดใบทิ้งหมด หรือเกือบหมดก่อนออกดอก.
 
  ดอก ดอก สีแดง, ออกเป็นช่อตามลำต้น, ที่ยอดและตามกิ่งแขนงสั้น ๆ ใกล้ยอด, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน; ก้านช่อยาว 3 – 20 มม., มีขน; ช่อดอกยาว 1 – 2.5 ซม., ใบประดับด้านนอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น, ก้านดอกไม่มีขน; ดอกมีลักษณะคล้ายรองเท้าหรือเรือ, มี 5 กลีบ, เรียงเป็นสองชั้น, ชั้นในมี 3 กลีบ, สั้น และแคบกว่ากลีบชั้นนอก, มีขนละเอียด; ที่ฐานด้านนอกมีต่อมน้ำหวานรูปกระทะคว่ำ 1 ต่อม, ด้านในมีต่อม 2 หรือ 4 ต่อม เรียงเป็นคู่; ที่ปลายมีแถบยาวหนึ่งแถบอยู่ตรงช่องระหว่างกลีบใหญ่ชั้นนอกสองกลีบ; เกสรผู้สั้น, ขณะที่ดอกกำลังบานอับเรณูจะหันหน้าออก; รังไข่มี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย, ท่อรับไข่มี 1 อัน, ปลายท่อแยกเป็น 3, แต่ละอันแยกเป็น 2 แฉก.
 
  ผล ผล เป็นชนิดแห้งแล้วแตก. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - น้ำยาง ใช้ทาแผลเช่น แผลมีดบาด ช่วยให้แผลหายเร็ว(คนเมือง)
- ต้น น้ำยางต้นใช้กัดหูด, ทาผิวหนังแก้เกลื้อน, แมลงป่องต่อย, ตะขายกัด; แต่ถ้ากินเข้าไปจะทำให้อาเจียน [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ เป็นพืชเขตร้อน พบปลูกทั่วไป ปลูกได้ในดินทุกสภาพ ทนแล้ง เจริญเติบโตได้ทั้งในที่แดดจัดและร่มรำไร
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง